นักวิจัยเผย โปรตีนจาก “ฟันปลาหมึก” จะนำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันโรค 

  • By admin
  • 3 พฤศจิกายน 2020
  • 0
  • 788 Views
นักวิจัยเผย โปรตีนจาก “ฟันปลาหมึก” จะนำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันโรค 

นักวิจัยเผย โปรตีนจาก “ฟันปลาหมึก” จะนำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันโรค 

 

            จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มระบาดมาตั้งแต่เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลให้หน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันโรคชนิดต่างๆ กลายเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก เนื่องจากประชาชนและเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณะสุขจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส โดยล่าสุดทางนักวิทยาศาสตร์ได้มีการเผยถึงความคืบหน้าว่าอาจจะสามารถพัฒนาวัสดุโพลิเมอร์ชีวสังเคราะห์ ที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ซึ่งมาจากการสังเคราะห์โปรตีนที่ทางนักวิจัยได้ค้นพบในฟันของปลาหมึก

นักวิจัยเผย โปรตีนจาก “ฟันปลาหมึก” จะนำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันโรค 

            สำหรับวัสดุที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้นั้น ในยุคปัจจุบันถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก่อนหน้านี้ก็ได้มีการคิดค้นและพัฒนากันมาบ้างแล้ว แต่วัสดุที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ในปัจจุบันนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง เพื่อซ่อมแซมตัวเอง อีกทั้งวัสดุที่ซ่อมแซมตัวเองได้นั้น ยังมีความแข็งแรงไม่เท่ากับของเดิมอีกด้วย จึงยังไม่มีความคุ้มค่ามากเท่าไหร่นัก

            หัวหน้าทีมวิจัยในครั้งนี้ อย่าง Abdon Pena-Francesch เขาได้ออกมาเปิดเผยถึงเทคโนโลยีดังกล่าวว่า วัสดุสังเคราะห์ซึ่งได้มาจากฟันของปลาหมึก จะสามารถช่วยย่นระยะเวลาในการซ่อมแซมตัวเองให้เหลือเพียง 1 วินาทีเท่านั้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลามากถึง 24 ชั่วโมงเต็ม การซ่อมแซมตัวเองในที่นี้สามารถทำได้รวดเร็วยิ่งกว่าการซ่อมแซมตัวเองตามธรรมชาติ อีกทั้งยังทำให้วัสดุที่ซ่อมแซมตัวเองกลับมาแข็งแรงสมบูรณ์เหมือนเดิมอีกด้วย

นักวิจัยเผย โปรตีนจาก “ฟันปลาหมึก” จะนำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันโรค 

            เทคโนโลยีการซ่อมแซมตัวเองในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะใช้ในอุตสากรรมการแพทย์ อย่างเช่น หน้ากากอนามัยหรือ
ชุดป้องกันพีพีอีเท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้งานร่วมกับอุตสาหกรรมประเภทอื่น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มักจะมีรอยฉีกขาดหรือรอยแตกอยู่เสมอ ซึ่งจะนำไปสู่การเสียหายอย่างถาวร สามารถซ่อมแซมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้กลับมาสมบูรณ์แบบเหมือนของเดิมได้อีกครั้ง เช่น แขนหุ่นยนต์ที่ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ขาเทียม ทางนักวิจัยที่พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวคาดว่าความสำเร็จในการพัฒนานี้จะนำไปสู่การใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

            แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับการซ่อมแซมตัวเอง จะยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากเท่าไหร่นัก แต่หลังจากนี้
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าในอนาคตทางนักวิจัยจะสามารถนำเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นมานี้ ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนาต่อไปอีกซักระยะ แต่ก็เชื่อได้ว่าหากในอนาคตสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ จะช่วยให้สามารถผลิตอุปกรณ์ป้องกันโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในยุคปัจจุบันได้อย่างแน่นอน

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น