
ผู้ประกอบการไทยเฮ พรบ.ข้อมูลส่วนตัว ใช้ปีหน้า
จากเดิมในเดือนมิถุนายนปีนี้ จะเป็นครั้งแรกที่พรบ.ข้อมูลส่วนตัวเริ่มต้นใช้งาน แต่เนื่องด้วยตัวกฎหมายที่ยังไม่แล้วเสร็จ ภาครัฐและภาคเอกชนยังไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติตาม เพราะเจ้าหน้าที่ที่ต้องดูแลข้อมูลส่วนตัวต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้จัดเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย รวมไปถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังระบาดอย่างหนักในปัจจุบัน ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการขยายเวลาการใช้งาน เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าว่า ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนตัวถึงขนาดต้องร่างเป็นกฎหมาย
พรบ.ข้อมูลส่วนตัว คืออะไร
ที่มาของพรบ.นี้ เนื่องจากอียูได้มีการออกประกาศในการดูแลข้อมูลส่วนตัว ทำให้ผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจกับอียูก็ได้รับผลต่อกฎหมายนี้ ไทยจึงมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายดูแลข้อมูลส่วนตัว เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อการค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป หรืออียู รวมไปถึงประชาคมโลกด้วย ซึ่งอียูได้ประกาศใช้กฎหมายข้อมูลส่วนตัว เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้
สาระที่สำคัญของพรบ.นี้ คนที่ให้เก็บข้อมูลทั้งหมด เจ้าตัวต้องได้รับการอนุญาติในการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวนั้น ๆ จากเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-สกุล เลขที่บัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด อีเมล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลบัตรเครดิต รวมไปถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของบุคคลได้ โดยผู้เก็บข้อมูลจะต้องชี้แจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลให้ชัดเจน เจ้าของข้อมูลสามารถถอนคำยินยอมได้ตลอดเวลา และผู้เก็บรวบรวมข้อมูลต้องรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยผู้ที่ไม่หน้าที่เกี่ยวข้อง
บทลงโทษ
บทลงโทษตามพรบ.ข้อมูลส่วนตัว ผู้ที่ทำผิดพรบ.นี้ถือได้ว่าเป็นผู้มีความผิดคดีทางอาญา เป็นบทลงโทษที่มีความรุนแรงพอสมควร มีรายละเอียดดังนี้
- หากทำผิดตามกฎหมายอาญา มีโทษต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปีและ/หรือมีค่าปรับสูงสุด 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- หากทำผิดตามกฎหมายแพ่ง ให้ทำการจ่ายสินไหมไม่เกินสินไหม 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง
- หากทำผิดตามกฎหมายปกครอง มีค่าปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท
และนี่คือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ถือได้ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราทุกคนที่เราควรให้ความสำคัญ หากเมื่อถึงวันที่พรบ.นี้ประกาศใช้เราทุกควรเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ ด้วยการอ่านรายละเอียดการขอคำยินยอมการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลให้เข้าใจก่อนกดยินยอม เพื่อรักษาประโยชน์เราที่จะได้ลดเวลารับโทรศัพท์จากบริษัทประกันทั้งหลาย หรือจากเจ้าหน้าที่เชิญชวนทำบัตรเครดิต เพราะว่าเบอร์โทรศัพท์ก็ถือได้ว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล