
HarmonyOS ของ Huawei กับระบบปฏิบัติการแบบ Open Source
ไม่เน้นการพึ่งพา Android และ Google
หลังจากที่สหรัฐอเมริกาและจีนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระหว่างกัน ผลกระทบแรกๆ ที่เกิดขึ้นคือบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีชั้นนำในจีนอย่าง Huawei ถูกกระทบโดยตรงไม่ว่าจะเป็นการถูกกล่าวหาในเรื่องกระใช้สมาร์ทโฟนยี่ห้อนี้และจะกระทบต่อความมั่นคง หรือจะถูกกีดกันการเข้าถึงการใช้งานจาก Google เป็นต้น อย่างไรก็ตามในวันนี้ Huawei เตรียมตัวตีจากระบบปฏิบัติการ Android และ Google ไว้ล่วงหน้าแล้วด้วยการเปิดตัว HarmonyOS 2.0 พร้อมฟีกเจอร์ต่างๆ ครบถ้วนเกินร้อยพร้อมปล่อยตัวอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2563 นี้แน่นอน
HarmonyOS ของ Huawei กับระบบปฏิบัติการแบบ Open Source
HarmonyOS ของ Huawei กับระบบปฏิบัติการแบบ Open Source หมายความว่าเป็นการพัฒนาและค้นคิดระบบใดระบบหนึ่งทางด้านคอมพิวเตอร์หรือเทคโลโนยีทุกรูปแบบที่ผู้คิดค้นไม่ปิดกั้น ไม่ถือลิขสิทธิ์ สามารถให้นักพัฒนาส่วนอื่นๆ ของโลกนำไปพัฒนาต่อยอดเองได้ หรืออาจจะกล่าวแบบง่ายๆ ได้ว่าเป็นระบบให้ใช้บริการซอฟแวร์แบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้งานนั่นเอง การเปิดตัวระบบของหัวเว่ยในรูปแบบนี้ ทำให้ระบบปฏิบัติการของหัวเห่ยสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้กว้างขวางขึ้นและสามารถถูกนำไปพัฒนาต่อยอด แก้ไขจุดบกพร่องด้วยนักพัฒนาได้ทั่วทุกแห่งในโลก ส่งผลดีต่อการตลาดและการพัฒนาระบบโดยรวมนั่นเอง
ระบบปฏิบัติการแบบ Open Source ยอดนิยมในปี 2020-2021
ปัจจุบันระบบปฏิบัติการแบบ Open Source ที่ได้รับการตอบรับและมีผู้ใช้งานเข้าถึงซึ่งบริการซอฟแวร์แบบฟรีๆ ได้ มีทั้ง 3 ชนิดได้แก่ Ubuntu, FreeBSD และ OpenSolaris แต่ละชนิดทำงานอย่างไรกันบ้างมาเรียนรู้กัน
- OpenSolaris เป็นระบบซอฟแวร์พื้นฐานที่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์และแหล่งถ่ายโอนข้อมูลได้ทุกรูปแบบใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก
- Ubuntu เป็นระบบซอฟแวร์พื้นฐานที่สามารถใช้งานร่วมกับแหล่งถ่ายโอนข้อมูลได้ทุกรูปแบบใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากมีหน้าตาคล้ายกับไมโครซอฟและสามารถใช้งานได้กราฟิกได้เป็นอย่างดี
- FreeBSD เป็นระบบซอฟแวร์ด้านงานสถาปัตยกรรมสามารถติดตั้งผ่านซีดี / ดีวีดี หรืออัพโหลดจากเว็บไซต์ทั่วไปที่มีให้บริการได้
นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการแบบ open source อีกมากมายหลากหลายประเภทหลากหลายชนิดที่ให้บริการแบบฟรี ใช้งานได้ไม่แตกต่างจากซอฟแวร์เฉพาะที่มีค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
อนาคตของหัวเว่ยกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและการถ่ายโอนข้อมูล
หลังจากปี 2019 ที่สหรัฐอเมริกามีปัญหากับทางหัวเว่ย บริษัทตัดสินใจที่จะไม่ใช้บริการระบบปฏิบัติการ AndroidOS และ Google Mobile Service อีกต่อไปนั้น หัวเว่ยไม่จนตรอกสิ้นหนทางแต่อย่างใด ปัจจุบันหัวเว่ยตั้งแต่รุ่ง Mate 30 Pro เป็นต้นมาทางบริษัทแม่ได้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเป็นของตนเองซึ่งส่งผลให้การใช้งานหัวเว่ยมีประสิทธิภาพและไหล่ลื่นมากขึ้นด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการ Huawei Mobile Services (HMS) โดยมีการแบ่งส่วนของ HMS ออกเป็น 2 ส่วนได้แก่
- HMA App เข้ามาแทนที่ AndroidOS และ Google Mobile Service
- HMS Core & Capacities เข้ามาแทน Google Play Service
ทั้งสองตัวนี้ถูกใช้งานและมีการพัฒนาตลอดเวลา ทั้งยังสามารถสนับสนุนการทำงานของอุปกรณ์เครื่องมือของหัวเว่ยต่างๆ ได้เป็นอย่างดีมากอีกด้วย อย่างไรก็ดีปัจจุบันทาง Google กำลังทำเรื่องร้องขอต่อศาลสหรัฐอเมริกาเพื่อกลับเข้ามาให้บริการร่วมกับทางหัวเว่ยเช่นเดิมอีกครั้งหนึ่ง
Huawei Mobile Services (HMS) ครอบคลุมการทำงานได้เพียงใด
ในระบบของ HMS ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก สามารถเข้าถึงได้ทุกคนอย่างเสรีและมีความปลอดภัยทางข้อมูลส่วนบุคคลสูงมาก มีระบบการตรวจเช็คถึง 4 ขั้นตอนในการใช้งานและที่สำคัญยังใช้ง่ายกว่าระบบปฏิบัติเดิมๆ อีกด้วย
ในส่วน HMS ประกอบไปด้วย HUAWEI AppGallery เป็นแพลตฟอร์มแสดงแอปพลิเคชั่นทั่วไปของหัวเว่ยซึ่งทางหัวเว่ยได้เพิ่มฟังชั่นที่เรียกว่า HUAWEI Quick App ซึ่งจะช่วยให้การเรียกแอปพลิเคชั่นต่างๆ มาใช้งานได้อย่างง่ายดายขึ้นมาก นอกจากนี้ยังมี HUAWEI Browser เบราว์เซอร์ที่ใช้งานที่ง่ายความปลอดภัยสูงสำหรับการท่องโลกอินเทอร์เน็ต, HUAWEI Mobile Cloud, HUAWEI Theme, HUAWEI Music, HUAWEI Video และ HUAWEI Reader ทั้งหมดนี้ช่วยให้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ของหัวเว่ยสะดวก ง่ายและปลอดภัยแน่นอน
HarmonyOS ของ Huawei กับระบบปฏิบัติการแบบ Open Source